เปิดข้อมูลตำรวจ คฝ. อาวุธจากภาษี ที่มีไว้ต่อสู้กับผู้เสียภาษี

ตำรวจ คฝ.

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญตามแต่ละโอกาส

ที่ตั้ง เลขที่ 89/89 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ภายในสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดี-รังสิต

เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) มีจำนวนดังนี้ (ข้อมูลปี 2564)

  1. กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จำนวน 23 กองร้อย 3,565 นาย
  2. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (บช.ภ.1) จำนวน 15 กองร้อย 2,325 นาย
  3. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (บช.ภ.2) จำนวน 18 กองร้อย 2,790 นาย
  4. กองบัญชการตำรวจภูธรภาค 3 (บช.ภ.3) จำนวน 25 กองร้อย 3,875 นาย
  5. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (บช.ภ.4) จำนวน 30 กองร้อย 4,650 นาย
  6. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (บช.ภ.5) จำนวน 15 กองร้อย 2,325 นาย
  7. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 (บช.ภ.6) จำนวน 18 กองร้อย 2,790 นาย
  8. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (บช.ภ.7) จำนวน 15 กองร้อย 2,325 นาย
  9. กองบัญชาการำตรวจภูธรภาค 8 (บช.ภ.8 ) จำนวน 15 กองร้อย 2,325 นาย
  10. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 (บช.ภ.9) จำนวน 18 กองร้อย 2,790 นาย
  11. กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน (บก.ตชด.) จำนวน 17 กองร้อย 2,635 นาย
  12. กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 44 (กก.ตชด. 43) จำนวน 1 กองร้อย 155 นาย
  13. บก.สอ.บช.ตชด.(ชาย) จำนวน 1 กองร้อย 155 นาย
  14. บก.สอ.บช.ตชด.(หญิง) จำนวน 1 กองร้อย 155 นาย
  15. กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) จำนวน 2 กองร้อย 310 นาย

รวมทั้งสิ้น 211 กองร้อย 32,705 นาย

ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) หรือตำรวจปราบจราจล ที่มาจากต่างจังหวัด คือ ตำรวจที่อยู่ประจำในโรงพัก ที่มีหน้าที่ตั้งแต่งานธุรการ งานสายตรวจ งานจราจร หรือแม้แต่งานสืบสวนสอบสวน เมื่อได้รับคำสั่งก็ต้องออกมาปฏิบัติหน้าที่ทันที การเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับวันละ 200 บาทต่อนาย ค่าอาหาร 4 มื้อ อีก 240 บาท รวม 440 บาทต่อวัน

มีรถปราบจลาจลฉีดน้ำแรงดันสูง มีแรงดันได้สูงสุดถึงเกือบ 20 บาร์ หรือเท่ากับแรงกดราว 20 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเซนติเมตร มีทั้งหมด 3 รุ่น

  1. Jino Motors TITANS ผลิตในประเทศเกาหลีใต้
  2. Daewoo Novus JRC-10000 ผลิตในประเทศเกาหลีใต้
  3. Sinotruk หรือ CNHTC ผลิตในประเทศจีน

และในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา มีแผนจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะเพิ่มเติม หลายรายการดังนี้

  1. โครงการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ รายการโล่ใส จำนวน 18,534 โล่ งบประมาณ 60,050,160 บาท
  2. โครงการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ รายการชุดป้องกันสะเกิ้ด จำนวน 16,620 ชุด งบประมาณ 54,181,000 บาท
  3. โครงการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ รายการหมวกปราบจลาจล จำนวน 15,781 ใบ งบประมาณ 59,336,560 บาท
  4. โครงการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ รายการกระบองยาง หรืออุปกรณ์ใช้ตี (Baton) จำนวน 16,620 อัน งบประมาณ 17,617,200 บาท
  5. เครื่องรบกวนสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุแบบติดตั้งบนยานพาหนะ จำนวน 7 เครื่อง งบประมาณ 34,828,500 บาท

นอกจากโล่ กระบอง และรถฉีดน้ำแรงดันสูงแล้ว ยังมีอาวุธพิเศษประกอบด้วย

  1. ปืนยิงกระสุนยาง
  2. ปืนตาข่าย (ยังไม่พบการใช้กับผู้ชุมนุม)
  3. ปืนเชือก (ยังไม่พบการใช้กับผู้ชุมนุม)
  4. แก๊สน้ำตา
  5. เครื่องขยายเสียงความถี่สูง (LRAD)

ทั้งหมดนี้จัดซื้อโดยงบประมาณแผ่นดิน ที่มาจากภาษีของประชาชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า